ทำความรู้จักสายสายไฟเบอร์ออฟติก
05/03/2024
สายไฟเบอร์ออฟติก มีกี่ชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับการใช้งานอะไรบ้าง
แทบจะทุกที่บนโลกที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสิ่งจำเป็น โดยมีเพียง 37% ของประชากรโลก หรือ 2,900 ล้านคน ที่ยังไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา อินเทอร์เน็ต คือสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิต ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้ ทั้งการสื่อสาร การค้นคว้าหาข้อมูล การพัฒนาคุณภาพชีวิต การผลิตยารักษาโรค หรือแม้กระทั่งเพื่อความบันเทิง โดยจะมีอุปกรณ์อยู่ชิ้นหนึ่งที่ เปรียบเสมือนเส้นทางการวิ่งของอินเทอร์เน็ต ทำให้อินเทอร์เน็ตมีความเร็วและมีความคงที่ นั่นก็คือ สายไฟเบอร์ออฟติก หรือเส้นใยแก้วนำแสง นั่นเอง
สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Cable) หรือเส้นใยแก้วนำแสง คืออะไร
สายไฟเบอร์ออฟติก คือ สายสัญญาณที่ใช้แก้วมาทำเป็นตัวนำสัญญาณ หุ้มด้วยใยพิเศษป้องกันการกระแทก เป็นสายชนิดใหม่ที่สามารถส่งข้อมูล และโอนถ่ายข้อมูลได้แบบความเร็วสูง โดยสายบางประเภทอาจทำมาจากพลาสติกที่มีความโปร่งแสง และมีความยืดหยุ่นสูง แต่โดยทั่วไปในงานสื่อสารจะนิยมใช้ประเภทที่มีตัวนำเป็นแก้ว สายไฟเบอร์ออฟติก ยังสามารถส่งสัญญาณได้ไกลหลักหลายร้อยกิโลเมตรและมี bandwidth ซึ่งเป็นตัวช่วยในการส่งสัญญาณดีกว่าสายเคเบิ้ลประเภทอื่นๆ ที่ทำมาจากทองแดง
สายไฟเบอร์ออฟติก มีทั้งหมดกี่ชนิด
สายไฟเบอร์ออฟติก จะมีส่วนประกอบหลักที่เหมือนกันคือ ชั้นแก้วด้านนอก (Cladding) และส่วนที่เป็นแกนแก้วด้านใน (Core) ทำหน้าที่ในการนำส่งสัญญาณ ซึ่งสายไฟเบอร์ออฟติกที่เราใช้กันทั่วๆ ไปนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ โดยทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ขนาดของ Core ที่เป็นตัวนำสัญญาณ และมีผลต่อการเดินทางของสัญญาณแสง
- สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Cable) ชนิด Single Mode
สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิด Single Mode นี้ เป็นสายที่มีขนาด Core เล็กมากเพียง 9 ไมครอน ทำให้แสงเดินทางได้ค่อนข้างตรง ส่งผลให้ข้อมูลที่ส่งมา สามารถส่งได้เป็นจำนวนมาก รวดเร็ว และส่งได้ไกลหลายร้อยกิโล สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้ ยังนิยมนำไปใช้เป็นโครงข่ายสัญญาณ เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีหลักของระบบสื่อสารทั่วประเทศ ทั้งระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับภูมิภาค โดยมีความยาวคลื่นแสงที่นิยมใช้ อยู่ที่ 1,310 nm, 1,490 nm หรือ 1550 nm
- สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) ชนิด Multimode
สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิด Multimode ปัจจุบันจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core อยู่ที่ 50 ไมครอน ด้วยขนาดคอร์ที่ใหญ่ทำให้แสงมีการเดินทางที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย ทำให้เกิดการหักเหของแสง โดยสายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้ จะส่งข้อมูลได้ระยะทางที่สั้นกว่า มีความยาวของคลื่นที่นิยมใช้ในการส่งข้อมูล อยู่ที่ 850 nm ถึง 1,300 nm เหมาะกับการนำไปใช้ในอาคารที่มีการส่งสัญญาณกันภายในอาคารแบบไม่ต้องมีการเดินสายในระยะทางไกล
การใช้ระบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic System) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ส่วนประกอบสำคัญของการใช้ระบบที่มี สายไฟเบอร์ออฟติก แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้
- ตัวกำเนิดแสง หรือ Light Source
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง โดยแสงที่ใช้จะเป็น LED หรือ LASER ในการส่งเข้าไปในสายไฟเบอร์ออฟติก และทำหน้าที่เป็น Optical transmitter
- สายนำสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Cable)
สำหรับสายนำสัญญาณไฟเบอร์ออฟติกนั้น ทำหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางลำเลียงสัญญาณ โดยเปรียบเสมือนถนนเส้นหลักที่ให้ข้อมูลวิ่งผ่าน
- ตัวแยกสัญญาณ Light Detector
เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ปลายทาง ประเภท Pin Diode เพื่อทำการแยกสัญญาณหรือถอดรหัสสัญญาณแสงกลับไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Optic Receiver
สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Cable) สามารถแบ่งตามการใช้งานได้ดังนี้
- สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) ประเภท Tight Buffer
สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้ เหมาะกับการใช้งานในอาคาร มีฉนวนที่เป็น PVC หรือ LSZH ที่มีความหนาและแข็งแรงห่อหุ้มสายไฟเบอร์ออฟติกอีกที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิด Tight Buffer มักมีจำนวน Core ภายในสาย ทั้งหมด 4 - 12 Cores และยังมีสายที่ใช้เชื่อมต่อภายในตู้ Rack แบบสั้นๆ ขนาด 1 หรือ 2 Cores ซึ่งจะเรียกว่า Fiber Optic patch cord ที่มีการเชื่อมต่อแบบ Simplex (1 core) และ Duplex (2 core)
- สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) ประเภท Loose Tube
เป็นสายไฟเบอร์ออฟติก ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และมีการใส่เจลกันน้ำไว้ในตัวสาย
- สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) ประเภท Outdoor / Indoor
เป็นสายไฟเบอร์ออฟติกที่สามารถใช้ได้ทั้งนอกอาคารและในอาคาร ความพิเศษก็คือมีฉนวนภายนอกเป็น PE ทนแดด ทนน้ำ และยังมีคุณสมบัติ Low Smoke Zero Halogen (LSZH) ที่จะไม่ทำให้เกิดควันพิษ และมีสารเคมี เมื่อสายถูกเผาไหม้หากเกิดอัคคีภัย
สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) นำไปใช้อะไรได้บ้าง
- เป็นเครือข่ายโทรคมนาคม - สายไฟเบอร์ออฟติก มีส่วนช่วยพัฒนาระบบสื่อสารบนโลกของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านความเร็ว ความแม่นยำ ความเสถียรในการนำส่งข้อมูล นอกจากนี้ ตามตึกหรืออาคารสูงๆ ยังมีการนำ สายไฟเบอร์ออฟติก มาใช้ในการรับส่งสัญญาณข้อมูลหลักของระบบเครือข่ายอีกด้วย
- นำไปใช้ในระบบกล้องวงจรปิด - ในการรับส่งสัญญาณของระบบกล้องวงจรปิด เพื่อให้สัญญาณมีความชัดเจน รวดเร็วยิ่งขึ้น
- นำไปใช้ในการสตรีมมิ่ง หรือส่งสัญญาณภาพ วิดีโอ - ปัจจุบันหลายๆ แพลตฟอร์มมักจะมีการสตรีมมิ่งเป็นภาพ หรือวิดีโอ การนำสายไฟเบอร์ออฟติกมาใช้นั้น ก็เพื่อให้สัญญาณรับส่งมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการส่งข้อมูลในระยะทางไกลก็ตาม
- ความเร็ว - สายไฟเบอร์ออฟติก สามารถส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงมากๆ ด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงที่มีคุณสมบัติทำให้การส่งข้อมูลได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านบิท ในระยะทางไม่เกิน 120 กิโลเมตร
- สามารถส่งสัญญาณได้ไกล - สายไฟเบอร์ออฟติกสามารถส่งสัญญาณได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งไกลกว่าสายแลนหลายร้อยเท่า ถ้าในแง่การส่งสัญญาณจัดว่า สายไฟเบอร์ออฟติก มีประสิทธิภาพที่สูงมาก
- ค่าการสูญเสียสัญญาณต่ำ - จากลักษณะของโครงสร้างสายไฟเบอร์ออฟติก จะมีลักษณะที่ทำให้แสงวิ่งผ่านได้ จึงทำให้ค่าสูญเสียสัญญาณหรือค่า Loss นั้นมีน้อย แม้จะเป็นการเดินสายสัญญาณระยะไกลก็ตาม
- มีความปลอดภัย - สายไฟเบอร์ออฟติกมีความปลอดภัยสูง ในด้านของข้อมูลมีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก เพราะมีการใช้แสงเป็นตัวนำข้อมูล ทำให้ยากต่อการโจรกรรมข้อมูล สำหรับด้านชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจาก สายไฟเบอร์ออฟติก ทำจากฉนวนไฟฟ้า ทำให้ไม่มีการลัดวงจร และไม่มีการลามของไฟหากเกิดอัคคีภัย
บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้นำเข้า และค้าส่งอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยu ด้วยประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 37 ปี จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเรามีทีมวิศวกรที่แข็งแรงในการวางระบบต่าง ๆ และเรายังมีสินค้าและบริการอีกมากมาย
เลือกติดตั้งระบบ สายไฟเบอร์ออฟติก เลือก LINK สาย สายไฟเบอร์ออฟติก คุณภาพ มาตรฐานระดับสากล ตอบโจทย์ทุกงานระบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับประกันยาวนานถึง 30 ปี ผ่านการทดสอบมาตรฐาน และได้รับการรับรองจากสถาบันระดับโลก
สนใจสอบถามข้อมูลสินค้าและบริการ หรือขอคำปรึกษางานวางระบบสายสัญญาณ ขอใบเสนอราคา ได้ตามช่องทางเหล่านี้ที่คุณสะดวก
Website : https://interlink.co.th/home/home
Facebook : https://www.facebook.com/interlinkfan
Line ID : @interlinkfan
Tel : 02 666 1111