ไขข้อสงสัย: สาย Control Cable กับสาย Power Cable แตกต่างกันอย่างไร?

06/02/2025


interlink


ไขข้อสงสัย: สาย Control Cable กับสาย Power Cable แตกต่างกันอย่างไร?

5 ความแตกต่างของสาย Control Cable กับสาย Power Cable

 

หากจะพูดถึงสายไฟฟ้า (Cable) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานไฟฟ้าและระบบควบคุม ที่มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งในด้านโครงสร้าง การใช้งาน และคุณสมบัติ อีกทั้งสายไฟนั้นมีมากมายหลากหลายแบบ ดังนั้นหากจะทำการเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง สาย Control Cable และ สาย Power Cable จะช่วยให้การเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัยมากที่สุด

 

ความแตกต่างของ สาย Control Cable กับ สาย Power Cable

  1. ความหมาย และหน้าที่
    สาย Control Cable เป็นสายที่ออกแบบมาเพื่อส่งสัญญาณควบคุมในระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะในระบบอัตโนมัติ และงานอุตสาหกรรม สายชนิดนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้า แต่เน้นที่การส่งสัญญาณแรงดันต่ำ หรือข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ควบคุม เช่น การส่งคำสั่งจาก PLC (Programmable Logic Controller) ไปยังเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ มอเตอร์ โดยมีหน้าที่หลักเพื่อส่งสัญญาณควบคุมแรงดันต่ำ ใช้ในระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) และ ใช้ในงานเชื่อมต่อระหว่างเซ็นเซอร์ สวิตช์ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อมาสาย Power Cable หรือสายไฟฟ้ากำลัง เป็นสายที่ออกแบบมาเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าแรงดันสูงสำหรับจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ เครื่องจักร เช่น มอเตอร์ หม้อแปลง หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องการพลังงานไฟฟ้ามาก โดยมีหน้าที่หลักในการส่งกระแสไฟฟ้า หรือ พลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ และ เหมาะกับใช้ในระบบไฟฟ้าหลักของอาคาร โรงงาน หรือ เครื่องจักร
     
  2. โครงสร้างของสาย Control Cable และ Power Cable
    โครงสร้างของสาย Control Cable นั้นมีโครงสร้างที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการส่งสัญญาณ โดยมีการป้องกันสัญญาณรบกวนเพื่อความเสถียรของข้อมูลที่ถูกส่งออกไป โดยมีองค์ประกอบหลักดังนี้
    • ตัวนำไฟฟ้า (Conductor) ทำจากทองแดง หรือ อลูมิเนียม จะเน้นความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่แคบหรือเคลื่อนไหว
    • ฉนวน (Insulation) มักใช้วัสดุ PVC (Polyvinyl Chloride) หรือ XLPE (Cross-linked Polyethylene) เพื่อป้องกันการลัดวงจรสาย
    • การป้องกันสัญญาณรบกวน (Shielding) ใช้สายถัก หรือ ฟอยล์ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI) ช่วยลดสัญญาณรบกวนจากภายนอก
    • เปลือกนอก (Outer Sheath) ใช้เพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้น น้ำมัน หรือ สารเคมี

    โครงสร้างของสาย Power Cable ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับแรงดันไฟฟ้าสูง และกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเน้นความปลอดภัย และความทนทาน มีองค์ประกอบหลักสำคัญดังนี้
    • ตัวนำไฟฟ้า (Conductor) จะทำจากทองแดง หรือ อลูมิเนียม มีขนาดใหญ่กว่าสาย Control Cable เพื่อรองรับกระแสไฟฟ้าสูง
    • ฉนวน (Insulation) โดยใช้วัสดุที่ทนต่อแรงดันสูง เช่น XLPE หรือ EPR (Ethylene Propylene Rubber) เพื่อป้องกันการเกิดการลัดวงจร และ ทนต่อความร้อน
    • ชั้นป้องกันไฟฟ้ารั่ว (Screening) บางรุ่นอาจมีชั้นป้องกันการรั่วไหลของไฟฟ้า
    • เปลือกนอก (Outer Sheath) ใช้เพื่อทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น การกัดกร่อน ความชื้น หรือ แรงกระแทก

  3. คุณสมบัติที่แตกต่าง
    สาย Control Cable มีคุณสมบัติรองรับแรงดันต่ำ (มักไม่เกิน 600 โวลต์) มีการป้องกันสัญญาณรบกวน EMI เพื่อความเสถียรของสัญญาณ อีกทั้งถูกออกแบบให้โค้งงอได้ง่าย เหมาะสำหรับการเดินสายในพื้นที่แคบ และเน้นการส่งสัญญาณข้อมูล หรือคำสั่งเป็นหลัก สำหรับสาย Power Cable มีคุณสมบัติรองรับแรงดันสูง (ตั้งแต่ 600 โวลต์ ถึง 35,000 โวลต์ หรือมากกว่า) มีฉนวนที่ทนต่ออุณหภูมิสูงจากการไหลของกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ อีกทั้งมีความทนทานที่แข็งแรง และ ทนต่อแรงกด หรือ แรงดึงได้ดี และ ถูกออกแบบเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. การใช้งานที่เหมาะสม
    การใช้งานของสาย Control Cable เหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบสายพานลำเลียง ระบบเครื่องจักรกล ใช้เพื่อเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ รีเลย์ และ สวิตช์ อีกทั้งนิยมใช้ในระบบอัตโนมัติ (Automation) และงานควบคุมเครื่องมือวัด อีกด้วย การใช้งานของสาย Power Cable เหมาะสำหรับใช้จ่ายไฟฟ้าให้มอเตอร์ หม้อแปลง และ ระบบไฟฟ้าหลักในอาคาร เหมาะกับใช้ในระบบไฟฟ้ากำลัง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า และ ใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น

  5. การเลือกใช้สายที่เหมาะสม
    เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกสายไฟฟ้าทั้ง 2 ประเภทนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
    • ประเภทของโหลดไฟฟ้า: หากเป็นงานส่งพลังงานไฟฟ้าให้มอเตอร์ หรือ เครื่องจักรใหญ่ ให้เลือก สาย Power Cable แต่หากเป็นงานควบคุม ให้เลือกสาย Control Cable จะเหมาะสมกว่า
    • แรงดันไฟฟ้า: ควรตรวจสอบว่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรงกับขีดจำกัดของสายแต่ละประเภท
    • สภาพแวดล้อม: เลือกสายที่ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่น น้ำมัน ความชื้น หรือ สารเคมี
    • ความยืดหยุ่น: หากต้องเดินสายในพื้นที่แคบ หรือ โค้งงอ ควรเลือกสาย Control Cable ที่มีคุณสมบัติกับพื้นที่มากกว่า

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสาย Control Cable และ Power Cable มีบทบาท และ การใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยสาย Control Cable เน้นการส่งสัญญาณควบคุม หรือ ข้อมูล ในขณะที่ สายPower Cable เน้นการจ่ายพลังงานไฟฟ้ากำลัง การเลือกสายที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน แรงดันไฟฟ้า และ สภาพแวดล้อม การเข้าใจความแตกต่างนี้จะช่วยให้ระบบไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ปลอดภัย

ดังนั้นหากกำลังมองหาสายสาย Control Cableเราขอแนะนำ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำเข้า และ จัดจำหน่าย สาย RG6 สายแลน สายแลน utp สายไฟเบอร์ออฟติก สายไฟโซล่าเซลล์ สาย pv link ตู้ rack link สาย control cable สายกล้องวงจรปิด สายไฟเบอร์ออฟติก Fiber Optic คุณภาพสูงที่ผ่านมาตรฐาน TIA มาตรฐาน UL และมาตรฐาน AD8 ที่เป็นมาตรฐานสูงสุด เจ้าเดียวในไทยจึงรับประกันคุณภาพพร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกๆท่านนั้นเอง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บมจ. อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น
สำนักงานใหญ่ เลขที่ 48 อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ซอยรุ่งเรือง ถนนรัชดาภิเษก
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

Website : https://interlink.co.th/home/home
Facebook:
 interlinkfan
Line: @interlinkfan
Tiktok: @interlink_official
YouTube: link channel










interlink