จะทำยังไงดี เมื่อสาย LAN แช่น้ำ!

08/09/2023


interlink


เพราะสายสัญญาณประเภท Indoor โดยตัวโครงสร้างเองก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เจอความร้อน ความชื้น หรือต้องแช่น้ำ ส่วนสายสัญญาณประเภท Outdoor แม้จะสามารถทนแดนทนฝน แต่ก็ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำขัง ดังนั้นเมื่อแช่น้ำไปนานๆ ก็อาจจะส่งผลทางประสิทธิภาพได้เหมือนกัน

ดังนั้นหากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่นน้ำท่วมสต๊อกสินค้า หรือท่วมในจุดที่เราติดตั้งสายสัญญาณไปแล้ว จะทำอย่างไรกันดี

ข้อแนะนำเบื้องต้นเมื่อระบบ LAN ต้องแช่น้ำ

1. ตรวจสอบอุปกรณ์และสายสัญญาณ ว่ามีส่วนใดชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ ถ้าเสียหายให้เปลี่ยนใหม่ทันที

2. สายที่ผ่านการแช่น้ำไม่ควรนำไปติดตั้งหรือนำไปจำหน่ายทันทีที่สายแห้ง ควรทำการทดสอบก่อน

3. ทำการตรวจสอบสายสัญญาณ ว่ามีส่วนใดแช่น้ำหรือไม่ โดยแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
- 3.1 ปลายสายทั้ง 2 ด้านที่แช่น้ำ ควรเปลี่ยนอุปกรณ์เชื่อมต่อใหม่ทั้งหมด (RJ45 Modular Jack, RJ45 Modular Plug, Patch Panel, Patch Cord) รื้อสายออกและเปลี่ยนสายใหม่ เพราะมีโอกาสสูงที่น้ำจะเข้าไปภายในสายทองแดง ทำให้เกิดความชื้นและออกไซด์ขึ้นกับสายทองแดง หากนำกลับมาใช้ใหม่ มีโอกาสที่ระบบจะใช้ไม่ได้หรือใช้ได้ไม่นานในระยะยาว
- 3.2 ปลายสายทั้ง 2 ด้านไม่ได้แช่ในน้ำ แต่มีสายบางส่วนแช่ในน้ำ ให้ทำความสะอาดสายสัญญาณให้แห้ง จากนั้นทำการทดสอบสายสัญญาณด้วย Cable Analyzer ว่ายังมีประสิทธิภาพผ่านตามมาตรฐานหรือไม่ และควรทำการทดสอบซ้ำทุกๆ 3-4 สัปดาห์ ติดต่อกัน 3-4 เดือน หากทดสอบได้ผล "Fail" หรือ "ประสิทธิภาพลดลง" ก็ควรเปลี่ยนสายสัญญาณและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แต่ถ้าปกติตลอดระยะเวลา 4 เดือน ก็สามารถใช้งานได้ปกติ

โดยสรุปแล้ว สายสัญญาณไม่ควรจะนำไปแช่น้ำนานๆ เพราะมีโอกาสที่จะทำให้ลดทอนประสิทธิภาพได้ แต่หากลูกค้ามีความจำเป็นต้องนำไปติดตั้งงานที่ต้องอยู่ในแอ่งน้ำ หรือต้องแช่น้ำแล้วละก็ LINK แนะนำให้ใช้สายรุ่นที่เป็น Double Jacket หรือมีเปลือกนอก 2 ชั้น เช่น US-9106OUT หรือ US-9045 ก็จะช่วยให้ติดตั้งได้โดยไม่ต้องกังวล รวมถึงหากต้องต่อหัว Connector ก็แนะนำให้เลือกใช้ Solution ที่เป็น Waterproof จะดีที่สุด










interlink