การเลือกใช้งานสาย CCTV
ทำความรู้จักสาย CCTV แต่ละประเภทและการเลือกใช้งานที่เหมาะสม
ระบบรักษาความปลอดภัยที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน คือ ระบบกล้องวงจรปิดหรือ CCTV ที่ไม่เพียงแต่จะติดตามบ้านเพื่อดูความปลอดภัยภายในบ้าน แต่เรายังเห็นกล้อง CCTV ติดอยู่ตามถนน ตามชุมชน หมู่บ้านต่างๆ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญสำหรับกล้อง CCTV ที่ไม่ว่าจะเป็น CCTV ที่ติดตามบ้านเรือน หรือ CCTV ที่ติดตามท้องถนน แต่ละชนิดมีการเลือกใช้สายนำสัญญาณหรือสาย CCTV ที่แตกต่างกัน ในบทความนี้ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสาย CCTV และการเลือกใช้งาน
ระบบการทำงานของกล้องวงจรปิด CCTV และประเภทของระบบที่ใช้กันในปัจจุบัน
กล้องวงจรปิด (CCTV) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “กล้องโทรทัศน์วงจรปิด” ทำหน้าที่รับสัญญาณภาพโดยการจับแสงที่สะท้อนจากวัตถุแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นส่งข้อมูลไปยังตัวรับสัญญาณภาพและแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ ภาพที่ได้มาจากการบันทึกจะถูกเก็บไว้เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายหลัง
ระบบกล้องวงจรปิด CCTV มีอะไรบ้าง?
กล้องวงจรปิด CCTV แบ่งออกเป็นหลายระบบตามเทคโนโลยีในการส่งสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบที่นิยมใช้กันมีดังนี้
- ระบบ Analog
เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้มาตั้งแต่ต้นของการพัฒนากล้องวงจรปิด โดยการส่งสัญญาณผ่านสาย Coax (Coaxial Cable) ระบบนี้มีราคาถูกที่สุด แต่ความปลอดภัยต่ำ เนื่องจากไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล จึงมีโอกาสถูกแทรกแซงได้ง่าย
- ระบบ IP
ระบบ IP เป็นการพัฒนาขึ้นจากระบบ Analog โดยจะส่งสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล (Digital) ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดสูง ระบบนี้ยังรองรับการทำงานแบบไร้สาย (Wireless) และมีความปลอดภัยสูงเพราะสามารถเข้ารหัสข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้งานภายหลัง แต่ระบบนี้ใช้แบนด์วิธ (Bandwidth) ที่สูง
- ระบบ Analog HD
ระบบนี้ใช้สาย Coax ของระบบ Analog แต่สามารถส่งสัญญาณภาพได้ความละเอียดสูงระดับ HD ถึง FullHD โดยไม่ต้องบีบอัดสัญญาณ ภาพจึงคมชัด ระบบนี้ได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาถูกและคุณภาพดี
การส่งข้อมูลภาพของกล้องวงจรปิดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- การส่งสัญญาณผ่านสาย CCTV
เป็นวิธีการส่งข้อมูลภาพผ่านสายสัญญาณ เช่น สาย LAN (Twisted Pair Cable) หรือสาย Coax (Coaxial Cable) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในกล้องวงจรปิดแบบอนาล็อกและดิจิตอล
ข้อดี
- ความเสถียรสูง เนื่องจากการส่งสัญญาณผ่านสายไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ ทำให้ภาพและข้อมูลมีความเสถียร
- ไม่ต้องกังวลเรื่องระยะการส่งสัญญาณ ในกรณีที่เดินสายอย่างถูกต้อง สัญญาณสามารถส่งได้ไกลและมีคุณภาพดี ไม่สูญเสียสัญญาณมาก
- ปลอดภัยกว่า เนื่องจากสัญญาณผ่านสายจะยากต่อการถูกดักจับหรือแทรกแซง เมื่อเทียบกับการส่งสัญญาณแบบไร้สาย
ข้อเสีย
- ต้องเดินสาย จำเป็นต้องติดตั้งสายสัญญาณ ทำให้มีข้อจำกัดในด้านความยืดหยุ่นของตำแหน่งกล้อง และต้องใช้เวลาในการติดตั้งมากขึ้น
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามระยะทาง หากต้องติดตั้งกล้องในระยะทางที่ไกล อาจต้องใช้สายที่ยาวและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
- การส่งสัญญาณแบบไร้สาย (Wireless)
เป็นวิธีการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไร้สาย เช่น Wi-Fi หรือคลื่นวิทยุ ซึ่งไม่ต้องใช้สายในการเชื่อมต่อระหว่างกล้องและอุปกรณ์รับสัญญาณ
ข้อดี
- ติดตั้งง่ายและสะดวก ไม่ต้องเดินสาย ทำให้สามารถติดตั้งกล้องได้ทุกที่แม้ในพื้นที่ที่ไม่สะดวกต่อการเดินสาย
- มีความยืดหยุ่น สามารถเคลื่อนย้ายกล้องหรือเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย โดยไม่ต้องเดินสายใหม่
- ลดค่าใช้จ่ายในการเดินสาย เหมาะสำหรับการติดตั้งกล้องในพื้นที่ที่เดินสายยาก เช่น อาคารสูงหรือพื้นที่กลางแจ้ง
ข้อเสีย
- สัญญาณไม่เสถียร ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครือข่ายและปัจจัยภายนอก เช่น การรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ หรือระยะทางที่ไกลเกินไป
- ทำให้สัญญาณขาดหายหรือภาพกระตุกได้
- ความปลอดภัยต่ำกว่า การส่งสัญญาณแบบไร้สายมีความเสี่ยงที่จะถูกแทรกแซงหรือดักจับข้อมูลได้ง่ายกว่าการส่งผ่านสาย หากไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลที่ดี
การส่งสัญญาณผ่านสาย CCTV เหมาะสำหรับการติดตั้ง CCTV ที่ต้องการความเสถียรสูงและความปลอดภัย แต่ต้องใช้เวลาและความยุ่งยากในการเดินสาย ในขณะที่การส่งสัญญาณแบบไร้สายเหมาะกับการติดตั้งที่ต้องการความสะดวกและยืดหยุ่น แต่มีข้อจำกัดเรื่องความเสถียรของสัญญาณและความปลอดภัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานและการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
สำหรับการส่งสัญญาณผ่านสาย CCTV มีสายสัญญาณ 2 ประเภทที่นิยมใช้ ได้แก่
- สาย LAN (Twisted Pair Cable)
สามารถส่งสัญญาณได้เร็วถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะไม่เกิน 100 เมตร นิยมใช้กับกล้องวงจรปิดระบบดิจิตอล
- สาย Coaxial (Coax)
เป็นสายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบอนาล็อกและ Analog HD ประกอบด้วยชั้นของตัวนำสัญญาณ ทองแดงหรืออลูมิเนียม และฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน สาย Coax มีหลายเกรดให้เลือก เช่น RG59, RG6, และ RG11 ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามระยะทางและการใช้งาน ดังนี้
สาย CCTV ที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
- สาย CCTV ชนิด RG59 - เป็นสายนำสัญญาณที่มีขนาดเล็ก และมีความยืดหยุ่นสูง ลักษณะของสายจะโค้งงอได้ง่าย และส่วนใหญ่มักนิยมนำไปติดตั้งกับกล้อง CCTV ภายในลิฟท์ สายประเภทนี้เหมาะสำหรับการเดินสายในระยะทางไม่เกิน 200 เมตร
- สาย CCTV ชนิด RG6 - หรือที่เรียกว่าสายถัก มีทั้งแบบที่เป็นทองแดงและอลูมิเนียม ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการเดินสายในระยะไกลเช่น 400-700 เมตร ควรเลือกสาย CCTV ที่ถักด้วยทองแดงเพราะจะนำสัญญาณได้ดีกว่า หากใช้ในระยะไม่เกิน 400 เมตร สายอลูมิเนียมเป็นตัวเลือกที่แนะนำ เพราะทั้งสองแบบที่กล่าวมามีผลต่อราคา และฉนวนหุ้มสายหากเป็นสีขาวจะเหมาะกับการเดินสายภายในอาคารมากกว่า แต่กหากเป็นการติดตั้งภายนอกอาคารแนะนำสายสีดำ เพราะมันทนทานกว่า
- สาย CCTV ชนิด RG11 - เป็นสายนำสัญญาณขนาดใหญ่ที่สุด และแน่นอนว่ามันนำสัญญาณได้ดีกว่า 2 ชนิดแรก เหมาะกับการนำไปใช้ในงานเดินสายระยะไกลเกิน 700 เมตร แต่สายประเภทนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากสักเท่าไหร่ เพราะตัวสายมีขนาดใหญ่และแข็งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้ง
การติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV
การติดตั้งกล้องวงจรปิดในปัจจุบันไม่ยากเหมือนในอดีต เพราะอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้ใช้ทั่วไปติดตั้งเองได้ โดยกระบวนการติดตั้งมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
- ติดตั้งสายไฟและต่อหัว BNC และ DC เข้ากับกล้อง
- ต่อหัว BNC อีกด้านเข้ากับเครื่องบันทึก DVR
- ต่อสาย DC จากแยกไฟจ่ายเข้ากับกล้องตัวอื่น
- เชื่อมต่อระบบทั้งหมดเข้ากับแหล่งจ่ายไฟและเปิดใช้งาน
เครื่องมือสำหรับติดตั้งกล้องวงจรปิด
ในการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ เช่น
- เครื่องมือสำหรับสายคู่ (Twisted Pair Tool)
- เครื่องทดสอบสายเคเบิล (Cable Tester)
- เครื่องปอกสายไฟ (Wire Stripper) เป็นต้น
เมื่อมีอุปกรณ์ครบครัน การติดตั้งกล้องวงจรปิดก็สามารถทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และหากคุณกำลังมองหา บริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่มีประสบการณ์ มาปรึกษากับเรา บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยประสบการณ์ในการทำงานมากว่า 35 ปี จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้่งภาครัฐและเอกชน โดยเรามีทีมวิศกรที่แข็งแรงในการวางระบบต่างๆ และเรายังมีสินค้าและบริการอีกมากมาย อาทิ สาย CCTV สาย LAN สายไฟเบอร์ Solar Cable Network System ฯลฯ
สนใจสอบถามข้อมูลสินค้าและบริการ หรือขอคำปรึกษางานวางระบบสายสัญญาณ
ขอใบเสนอราคา ได้ตามช่องทางเหล่านี้ที่คุณสะดวก
Website : https://interlink.co.th/home/home
Facebook: interlinkfan
Line: @interlinkfan
Tiktok: @interlink_official
YouTube: link channel