06/09/2023
"วางๆ ไปเหอะ ซื้อทำไม ไม่เห็นจะช่วยอะไรเลย"
ตู้ Rack เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ไอที ที่หลายๆ คนมักมองข้าม เพียงเพราะคิดว่าแค่ระบบเครือข่ายใช้งานได้ดี แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่เอาเข้าจริงตู้ Rack ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นมาก ทั้งเรื่องของความสะดวกในการจัดการ-จัดเก็บอุปกรณ์ เรื่องความปลอดภัย และที่สำคัญอุปกรณ์ Network, Server รวมๆ กันทุกตัวไม่ใช่ราคาถูกๆ ลงทุนสักหน่อยซื้อตู้ Rack มาวางให้เรียบร้อย เราคิดว่าคุ้มกว่าเยอะ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ประเภทของตู้ RACK
- Tower Rack แบบตั้งพื้น
ตู้ Rack แบบตั้งพื้น มักมีขนาดตั้งแต่ 15U-45U (U ย่อมาจากคำว่า Unit Rack) สามารถจัดเก็บอุปกรณ์ได้หลากหลาย และรองรับน้ำหนักได้มากกว่าตู้ประเภทอื่นๆ สามารถเปิด-ปิดตู้ได้ทั้ง 4 ด้าน พร้อมขาตั้งและชุดล้อเลื่อนแบบ 360 องศา เพื่อการเคลื่อนย้ายได้สะดวก แถมยังสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มเติมได้ค่อนข้างเยอะ
- Open Rack แบบเปิด
หรือเรียกอีกอย่างว่า Network Rack เป็นตู้แบบเปิดโล่ง ระบายอากาศได้ดี จุดเด่นที่สำคัญคือน้ำหนักเบาและราคาถูก แต่รับน้ำหนักได้ค่อนข้างจำกัด
- Wall Rack แบบติดผนัง
เหมาะสำหรับการติดตั้งบนผนัง วางแขวน หรือว่าวางบนชั้น ใส่อุปกรณ์จำนวนไม่มากนัก โดยมีให้เลือกตั้งแต่ 6U-12U และสามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มได้
* นอกเหนือจากตู้ Rack ประเภทต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เรายังสามารถแบ่งย่อยเป็นประเภทต่างๆ ได้ลงไปอีกเช่น แบ่งตามวัสดุการผลิต, ตามลักษณะการระบายอากาศ หรือแบ่งตามลักษณะการดีไซน์ เป็นต้น (ประตูหน้ากระจกนิรภัย, ประตูหลังเจาะช่องระบายอากาศรูปรังผึ้ง)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ข้อดีของตู้ Rack
1. ประหยัดพื้นที่ติดตั้ง
ลองนึกภาพอุปกรณ์วางกระจัดกระจายกับสายสัญญาณม้วนพันกันไปมา คงเป็นภาพที่ไม่น่ามองแน่ๆ ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์และเซิร์ฟเวอร์ในตู้ Rack (แบบวางซ้อนๆ กัน) นั้น ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ไปได้เยอะ
2. ประหยัดเวลาในการจัดการ, แก้ไข
หากระบบล่ม การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายในตู้ Rack จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบ ระบุปัญหา และเข้าแก้ไขได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
3. เดินสายได้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย
ข้อนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะในองค์กรใหญ่ๆ ที่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์และการเชื่อมต่อเป็นจำนวนมาก การจัดการสายสัญญาณและสายไฟต่างๆ ให้เรียบร้อยสวยงาม ถือเป็นสิ่งจำเป็น
4. ส่งต่อ, มอบหมายงานได้ง่าย รวดเร็ว
แน่นอนว่าหากทุกอย่างเป็นระบบระเบียบเรียบร้อย การส่งต่อ มอบหมาย หรือสอนงาน ก็จะเป็นเรื่องง่ายทันที
5. ลดปัญหาเรื่องฝุ่นละออง, ความชื้น
ข้อนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าการติดตั้งในตู้ Rack สามารถช่วยป้องกันทั้งเรื่องฝุ่นและเรื่องน้ำ
6. ป้องกันสัตว์กัดแทะ
หนูกับสายไฟดูเหมือนจะเป็นของคู่กัน บางทีอาจจะมีพรรคพวกมาเพิ่มทั้งแมลงสาบหรือมด การติดตั้งตู้ Rack ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แน่นอน
7. ป้องกันอุบัติเหตุ
เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอแม้กระทั่งการเดินสะดุดสายไฟ
8. ระบายความร้อน
ข้อสุดท้ายสำคัญมาก เพราะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อน ยิ่งหากติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มด้วยแล้ว ยิ่งดีเข้าไปใหญ่
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
หลักการจัดวางอุปกรณ์ในตู้ Rack
- ขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์ (กว้าง ยาว ลึก)
- อุปกรณ์ที่ต้องมอนิเตอร์ ควรวางในระดับสายตา
- สายสื่อสารควรจัดวางไว้ด้านบน ตามมาตรฐาน IDC
- สายไฟควรจัดวางไว้ด้านล่างหรือแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนสายสื่อสาร
- อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากและมีขนาดยาว ควรวางไว้ด้านล่าง
*ตรวจสอบให้เรียบร้อย ว่าอุปกรณ์ทั้งหมดของเรานั้น ใช้พื้นที่กี่ U (1U=1.75 นิ้ว หรือ 4.445 เซนติเมตร) อย่าลืมเผื่อความสูงของตู้ (จำนวน U) ไว้บ้าง เพราะคุณอาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มในอนาคต
* ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องมอนิเตอร์ไว้ในระดับสายตา เพื่อสะดวกแก่การแก้ไขตรวจสอบ
* ขนาดความลึกของตู้ Rack ควรเผื่อไว้ประมาณ 15-20 เซนติเมตร สำหรับการโค้งงอของสายสัญญาณ โดยวัดจากอุปกรณ์ที่มีขนาดลึกที่สุด
* อุปกรณ์ที่ค่อนข้างหนักและมีขนาดยาว ควรวางไว้ด้านล่าง เช่น UPS เนื่องจากตู้ Rack ส่วนใหญ่มีพัดลมระบายอากาศอยู่ด้านบนบริเวณหลังคา จึงไม่ควรวางไว้สูงๆ เพราะจะบังพัดลมระบายอากาศ
* เพื่อป้องกันการเกิดสัญญาณรบกวน สายสัญญาณและสายไฟจึงไม่ควรมัดรวมกัน
บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดสัมมนา “สุดยอดหัวใจการขาย 2025” เสริมศักยภาพพนักงานทุกระดับ อัปเดต INNOVATION ตอกย้ำผลิตภัณฑ์แบรนด์ LINK AMERICAN CABLING เตรียมพร้อมสู่อนาคต เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ แบบมีคุณภาพร่วมกัน
ILINK พบนักลงทุนในงาน OPP DAY ประจำไตรมาส 3/2567 เผยผลการดำเนินงานอย่างมั่นคง ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจสื่อสารด้านสายสัญญาณ และวิศวกรรมโครงการ
บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ เปิดบริการใหม่ล่าสุด “LINK Transceiver Clinic for ALL” ปลดล็อกทุกปัญหาการเชื่อมต่อ กับที่สุดการดูแลแบบครบวงจร